วันอังคารที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

การเล่นกีฬา

แนวคิดและคำนิยาม1 การเล่นกีฬาหมายถึง การกระทำใด ๆ ที่ทำให้มีการเคลื่อนไหวส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสุขภาพ เพื่อความสนุกสนาน เพื่อสังคม เพื่อการแข่งขัน โดยจะเคร่งครัดต่อกฎเกณฑ์กติกาการแข่งขันหรือไม่เคร่งครัดก็ได้ เช่น การเล่นฟุตบอล รักบี้ บาสเกตบอล แบดมินตัน เทนนิส กอล์ฟ ว่ายน้ำ วอลเล่ย์บอล เป็นต้น (ยกเว้น หมากรุก หมากกระดาน บริดส์ ปาเป้า)2 การออกกำลังกายหมายถึง การกระทำใด ๆ ที่ทำให้มีการเคลื่อนไหวส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เพื่อเสริมสร้างสุขภาพ เพื่อความสนุกสนาน เพื่อสังคม โดยใช้กิจกรรมง่าย ๆ หรือมีกฎกติกาการแข่งขันง่าย ๆ เช่น เดิน วิ่ง กระโดดเชือก การบริหารร่างกาย การยกน้ำหนัก เป็นต้น (ยกเว้นการออกกำลังกายในอาชีพ และการเคลื่อนไหวในชีวิตประจำวัน)3 สถานที่เล่นกีฬาหมายถึง สถานที่สำหรับเล่นกีฬาหรือออกกำลังกาย ได้แก่3.1 สนามกีฬา / สถานออกกำลังกาย ซึ่งประกอบด้วย- ของสถานศึกษา หมายถึง สนามกีฬาที่อยู่ในสถานศึกษา ตั้งแต่ระดับประถมศึกษาจนถึงระดับอุดมศึกษา ไม่ว่าจะเป็นสถานศึกษาของราชการหรือเอกชน- หน่วยงานราชการ หมายถึง สนามกีฬาที่อยู่ในความรับผิดชอบและดูแลรักษาโดยหน่วยงานของราชการหรือรัฐวิสาหกิจ (ยกเว้น สถานศึกษาของราชการ) เช่น สนามกีฬาจังหวัด สนามกีฬาแห่งชาติ สนามกีฬาของการกีฬาแห่งประเทศไทย สนามกีฬาของศูนย์เยาวชนต่าง ๆ เป็นต้น- ของเอกชน หมายถึง สนามกีฬาของเอกชน สมาคม สโมสร และให้หมายรวมถึง สนามกีฬาที่จัดทำขึ้นเพื่อกิจการค้า เช่น คอร์ดเทนนิส คอร์ดแบดมินตัน และสระว่ายน้ำ เป็นต้น 3.2 สวนสาธารณะ หมายถึง อาณาบริเวณอันเป็นสาธารณะสมบัติที่มีลักษณะเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจ รวมทั้งลานกีฬาที่อยู่ในสวนสาธารณะด้วย 3.3 บริเวณบ้าน หมายถึง อาณาบริเวณที่เป็นที่อยู่อาศัย3.4 บริเวณวัด มัสยิด โบสถ์3.5 ที่ว่าง หมายถึง อาณาบริเวณที่ยังมิได้มีสิ่งปลูกสร้างใด ๆ 3.6 อื่น ๆ เช่น บริเวณสถานที่ทำงาน สถานที่ศึกษา ที่มิใช่สนามกีฬา 4 การดูกีฬาหมายถึง การดูการแข่งขัน รวมการดูการฝึกซ้อมตั้งแต่ต้นจนจบจากสนามแข่ง ทางจอโทรทัศน์ หรือวิดีโอ รวมทั้งการฟังการถ่ายทอดเสียงทางวิทยุ ทั้งนี้ไม่รวมถึงการดูข่าวกีฬาในภาคข่าว พฤติกรรมในการดูกีฬา แบ่งออกเป็นดูเป็นประจำ หมายถึง การติดตามดูกีฬาประเภทใดประเภทหนึ่งเป็นประจำเมื่อมีการแข่งขัน ไม่ว่าจะเป็นที่สนามแข่งขันหรือตามสื่อต่าง ๆ เช่น วิทยุ โทรทัศน์ เป็นต้น โดยแต่ละครั้งติดตามจนสิ้นสุดการแข่งขันดูเป็นครั้งคราว หมายถึง การดูกีฬาเมื่อมีโอกาสเป็นครั้งคราว เช่น มีตั๋วการแข่งขันฟรี หรือติดตามการถ่ายทอดสดการแข่งขันทางโทรทัศน์เป็นครั้งคราว เป็นต้น5 สถานที่ดูกีฬา5.1 สนามกีฬา หมายถึง สถานที่ที่จัดสร้างหรือปรับพื้นไว้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ประโยชน์ในการเล่นและแข่งขันกีฬาเป็นหลัก5.2 สถานที่ที่มีการเล่นหรือการแข่งขันกีฬา หมายถึง สถานที่ที่จัดสร้างหรือปรับพื้นไว้เพื่อประโยชน์ในด้านอื่น ๆ โดยไม่มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ประโยชน์ในการเล่นและแข่งขันกีฬาเป็นหลัก แต่สามารถปรับสถานที่ให้ใช้ในการเล่นและแข่งขันกีฬาเป็นการชั่วคราวได้ เช่น เวทีมวยชั่วคราวในห้างสรรพสินค้า เป็นต้น5.3 โทรทัศน์ หมายถึง การดูกีฬาจากโทรทัศน์ เช่น การถ่ายทอดสดมวย ฟุตบอล หรือการแข่งขันอื่น ๆ จากสนามแข่งขัน หรือทางสถานีโทรทัศน์อัดเป็นเทปมาเปิดให้ชมภายหลัง ทั้งนี้ไม่รวมข่าวกีฬา (ในภาคข่าว) และรายการความรู้เกี่ยวกับกีฬาซึ่งมีการแนะนำหรือสอนวิธีเล่นด้วย5.4 วิดีโอ/ซีดี หมายถึง การนำเทปวิดีโอหรือซีดีที่ได้บันทึกรายการแข่งขันไว้มาเปิดชม5.5 วิทยุ หมายถึง การรับฟังการถ่ายทอดเสียงการแข่งขันกีฬาต่าง ๆ ทั้งนี้ไม่รวมการสรุปข่าวกีฬาหรือรายการแนะนำเกี่ยวกับกีฬา
6 ระดับการศึกษาที่สำเร็จได้จำแนกการศึกษาตามระดับการศึกษาที่สำเร็จ ดังนี้6.1 ไม่มีการศึกษา หมายถึง บุคคลที่ไม่เคยเข้ารับการศึกษาในโรงเรียน หรือไม่เคยได้รับการศึกษา6.2 ต่ำกว่าประถมศึกษา หมายถึง บุคคลที่สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หรือชั้นประถมศึกษาปีที่ 7 หรือชั้นม.3 เดิม6.3 ประถมศึกษา หมายถึง บุคคลที่สำเร็จการศึกษาตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หรือชั้นประถมศึกษาปีที่ 7 หรือชั้นม. 3 เดิมขึ้นไป แต่ไม่สำเร็จระดับการศึกษาที่สูงกว่า6.4 มัธยมศึกษา ได้แก่6.4.1 มัธยมศึกษาตอนต้น หมายถึง บุคคลที่สำเร็จการศึกษาตั้งแต่ชั้น ม.3 มศ.3 หรือชั้นม.6 เดิมขึ้นไป แต่ไม่สำเร็จระดับการศึกษาที่สูงกว่า6.4.2 มัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า หมายถึง บุคคลที่สำเร็จการศึกษาประเภทสามัญศึกษาตั้งแต่ชั้น ม.6 มศ.5 หรือชั้นม.8 เดิมขึ้นไป ประเภทอาชีวศึกษาหรือวิชาชีพที่เรียนต่อจากระดับมัธยมศึกษาตอนต้นหรือเทียบเท่าโดยมีหลักสูตรไม่เกิน 3 ปี หรือประเภทวิชาการศึกษา (การฝึกหัดครู) ในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่าขึ้นไป แต่ไม่สำเร็จระดับการศึกษาที่สูงกว่า 6.5 อุดมศึกษา ได้แก่6.5.1 ต่ำกว่าอนุปริญญา หมายถึง บุคคลที่สำเร็จการศึกษาได้รับประกาศนียบัตรที่มีหลักสูตร 1 ปี โดยรับจากผู้สำเร็จการศึกษาในชั้น มศ.5 ม.6 หรือปวช. แต่ไม่สำเร็จระดับการศึกษาที่สูงกว่า6.5.2 อนุปริญญา หมายถึง บุคคลที่สำเร็จการศึกษาประเภทอาชีวศึกษา หรือสายวิชาชีพ ที่ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง แต่ไม่สำเร็จระดับการศึกษาที่สูงกว่า6.5.3 ปริญญาตรีขึ้นไปหรือเทียบเท่า ได้แก่- สายวิชาการ หมายถึง บุคคลที่สำเร็จการศึกษาสามัญศึกษาหรือสายวิชาการโดยได้รับวุฒิปริญญาตรี โท เอก- สายวิชาชีพ หมายถึง บุคคลที่สำเร็จการศึกษาประเภทอาชีวศึกษา หรือสายวิชาชีพ โดยได้รับวุฒิปริญญาตรี- สายวิชาการศึกษา หมายถึง บุคคลที่สำเร็จการศึกษาประเภทวิชาการศึกษาโดยได้รับวุฒิปริญญาตรี โท เอก6.6 การศึกษาอื่น ๆ หมายถึง อาชีวศึกษาระยะสั้น และบุคคลที่สำเร็จการศึกษาที่ไม่สามารถเทียบชั้นได้7. อาชีพหมายถึง ประเภทหรือชนิดของงานที่บุคคลนั้นทำอยู่ในระหว่าง 12 เดือนก่อนวันสัมภาษณ์ เช่น ทำนา นักบัญชี ครู เป็นต้น โดยการจัดจำแนกประเภทอาชีพ ใช้ตาม International Standard Classification of Occupation, 1988 (ISCO – 88) ขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO)8. ครัวเรือนส่วนบุคคลประกอบด้วยครัวเรือนหนึ่งคน คือ บุคคลเดียวซึ่งหุงหาอาหารและจัดหาสิ่งอุปโภคบริโภคที่จำเป็นแก่การครองชีพ โดยไม่เกี่ยวกับผู้ใด ซึ่งอาจพำนักอยู่ในเคหสถานเดียวกัน และครัวเรือนที่มีบุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไปร่วมกันจัดหา และใช้สิ่งอุปโภคบริโภคที่จำเป็นแก่การครองชีพร่วมกัน ครัวเรือนส่วนบุคคลอาจอาศัยอยู่ในเคหะที่เป็นเรือนไม้ ตึกแถว ห้องชุด เรือ แพ เป็นต้น 6 ระดับการศึกษาที่สำเร็จได้จำแนกการศึกษาตามระดับการศึกษาที่สำเร็จ ดังนี้6.1 ไม่มีการศึกษา หมายถึง บุคคลที่ไม่เคยเข้ารับการศึกษาในโรงเรียน หรือไม่เคยได้รับการศึกษา6.2 ต่ำกว่าประถมศึกษา หมายถึง บุคคลที่สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หรือชั้นประถมศึกษาปีที่ 7 หรือชั้นม.3 เดิม6.3 ประถมศึกษา หมายถึง บุคคลที่สำเร็จการศึกษาตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หรือชั้นประถมศึกษาปีที่ 7 หรือชั้นม. 3 เดิมขึ้นไป แต่ไม่สำเร็จระดับการศึกษาที่สูงกว่า6.4 มัธยมศึกษา ได้แก่6.4.1 มัธยมศึกษาตอนต้น หมายถึง บุคคลที่สำเร็จการศึกษาตั้งแต่ชั้น ม.3 มศ.3 หรือชั้นม.6 เดิมขึ้นไป แต่ไม่สำเร็จระดับการศึกษาที่สูงกว่า6.4.2 มัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า หมายถึง บุคคลที่สำเร็จการศึกษาประเภทสามัญศึกษาตั้งแต่ชั้น ม.6 มศ.5 หรือชั้นม.8 เดิมขึ้นไป ประเภทอาชีวศึกษาหรือวิชาชีพที่เรียนต่อจากระดับมัธยมศึกษาตอนต้นหรือเทียบเท่าโดยมีหลักสูตรไม่เกิน 3 ปี หรือประเภทวิชาการศึกษา (การฝึกหัดครู) ในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่าขึ้นไป แต่ไม่สำเร็จระดับการศึกษาที่สูงกว่า 6.5 อุดมศึกษา ได้แก่6.5.1 ต่ำกว่าอนุปริญญา หมายถึง บุคคลที่สำเร็จการศึกษาได้รับประกาศนียบัตรที่มีหลักสูตร 1 ปี โดยรับจากผู้สำเร็จการศึกษาในชั้น มศ.5 ม.6 หรือปวช. แต่ไม่สำเร็จระดับการศึกษาที่สูงกว่า6.5.2 อนุปริญญา หมายถึง บุคคลที่สำเร็จการศึกษาประเภทอาชีวศึกษา หรือสายวิชาชีพ ที่ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง แต่ไม่สำเร็จระดับการศึกษาที่สูงกว่า6.5.3 ปริญญาตรีขึ้นไปหรือเทียบเท่า ได้แก่- สายวิชาการ หมายถึง บุคคลที่สำเร็จการศึกษาสามัญศึกษาหรือสายวิชาการโดยได้รับวุฒิปริญญาตรี โท เอก- สายวิชาชีพ หมายถึง บุคคลที่สำเร็จการศึกษาประเภทอาชีวศึกษา หรือสายวิชาชีพ โดยได้รับวุฒิปริญญาตรี- สายวิชาการศึกษา หมายถึง บุคคลที่สำเร็จการศึกษาประเภทวิชาการศึกษาโดยได้รับวุฒิปริญญาตรี โท เอก6.6 การศึกษาอื่น ๆ หมายถึง อาชีวศึกษาระยะสั้น และบุคคลที่สำเร็จการศึกษาที่ไม่สามารถเทียบชั้นได้7. อาชีพหมายถึง ประเภทหรือชนิดของงานที่บุคคลนั้นทำอยู่ในระหว่าง 12 เดือนก่อนวันสัมภาษณ์ เช่น ทำนา นักบัญชี ครู เป็นต้น โดยการจัดจำแนกประเภทอาชีพ ใช้ตาม International Standard Classification of Occupation, 1988 (ISCO – 88) ขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO)8. ครัวเรือนส่วนบุคคลประกอบด้วยครัวเรือนหนึ่งคน คือ บุคคลเดียวซึ่งหุงหาอาหารและจัดหาสิ่งอุปโภคบริโภคที่จำเป็นแก่การครองชีพ โดยไม่เกี่ยวกับผู้ใด ซึ่งอาจพำนักอยู่ในเคหสถานเดียวกัน และครัวเรือนที่มีบุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไปร่วมกันจัดหา และใช้สิ่งอุปโภคบริโภคที่จำเป็นแก่การครองชีพร่วมกัน ครัวเรือนส่วนบุคคลอาจอาศัยอยู่ในเคหะที่เป็นเรือนไม้ ตึกแถว ห้องชุด เรือ แพ เป็นต้น

การเล่นกีฬา Cricket

Cricket เป็นกีฬาที่คล้ายกับเบสบอล แต่ Cricket ไม่มีฐาน และต้องตีลูกต่ำกว่าใต้มือ มีคนเล่นทีมละ 11 คน Ex. ทีมแรกผู้ขว้างลูก ซึ่งเรียกว่า bowler ทำการขว้างลูกไปยังไม้ที่ตั้งไว้บนสนาม 3 อัน ไม้นี้เรียกว่า wickets ทีมที่ 2 มีผู้รักษา wickets เรียกว่า batsman จะถือไม้ตีลูกเรียกว่า bat ถ้าทีมที่ 2 ตีถูกลูกก็วิ่งวนไปเพื่อเอาแต้ม เรียกว่า runs จนกว่าทีมแรกจะนำลูกกลับมาได้ลองหาข้อมูลเพิ่มเติมที่ http://en.wikipedia.org/wiki/Cricket
8 เดือน ผ่านไป

วันอาทิตย์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

ความเป้นมาของฟุตบอล

กำเนิดขึ้นครั้งแรกที่ไหนไม่มีใครทราบแน่ชัด แต่จากหลักฐานทางประวัติศาตร์กล่าวว่า การเตะลูกบอลเริ่มเกิดขึ้นในงานการแข่งขันฉลองอื่นๆ ซึ้งหาได้ง่ายตามประเทศต่างๆและพบในประเทศที่มีวัฒนธรรมต่างๆกัน เช่น
ในสมัยกรีกโบราณ ได้เล่นกีฬาประเภทหนึ่งคล้ายฟุตบอล เรียกว่า "เอพปิสไกย์รอย" (Episiskiyros)
ในสมัยบาบีโลเนียและสมัยอียิปต์โบราณ ฟุตบอลทำมาจากหนังสัตว์เย็บสลับไปมาแล้วห้มข้างนอกด้วยฟางหรือผม
ในสมัยประเทศจีน เมื่อก่อนคริสต์กาล3,000ปี ได้เล่นกีฬาชนิดหนึ่งที่คล้ายการเล่นฟุตบอลเรียกว่า"ทีซูชุ"(Tsu chu)
ในสมัยประเทศญี่ปุ่น ก่อนต้นศตวรรษที่14 ได้เล่นกีฬาชนิดหน฿งที่คล้ายการเล่นฟุตบอลเรียกว่า"เคมาริ"หรือ"เคอร์นาร์"(Kemari หรือ Kernart)
ในประเทศฝรั่งเศษสมัยกลาง ได้เล่นกีฬาคล้ายฟุตบอลเช่นกันเรียกว่า"คาลซิโอ"(Calcio)
ในประเทศเม็กซิโก ได้เล่นกีฬาคล้ายฟุตบอลเรียกว่า"โกมาคาริ"(Gomacari)
ในสมัยโรมัน เริ่มฟุตที่มีลมข้างใน